ความหมายของการประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์ คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ได้แก่ 1. ความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ 2. ความเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น
ประเภทของการคุ้มครอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. ความคุ้มครองแบบรวม (Comprehensive cover) เป็นการประกันที่ให้ความคุ้มครองทั้งความเสียหายและความสูญหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำรถ (ออกจากโรงงาน) และให้ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกด้วย ซึ่งเรามักเรียกกันว่า "ประกันภัยชั้น1" ผู้เอาประกันภัยที่ซื้อความคุ้มครองประเภทนี้ จึงสามารถเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ทั้งความเสียหายต่อรถคันที่เอาประกันภัย และความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก ตามความเสียหายที่แท้จริง (บาดแผลต้องซ่อม ซ่อม บาดแผลต้องเปลี่ยน เปลี่ยน) แต่ไม่เกินวงเกินเอาประกันภัย
2. ประเภทความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Liability to third party cover) เป็นการประกันที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะความรับผิดต่อบุคคลภายนอก กล่าวคือ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุนั้นเกิดจากรถยนต์ ที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งอยู่ในระหว่างระยะเวลา ประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ต่อบุคคลภายนอกตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนวงเงินเอาประกันภัย ส่วนความเสียหายต่อตัวรถยนต์จะไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งเราเรียกกันทั่วไป ว่า "ประกันชั้น3"
อย่างไรก็ตามประกันภัยทั้ง 2 แบบ ก็มีข้อยกเว้น ไม่คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก อันที่ความเสียหายอันเนื่องมาจาก
1. ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัว (ภรรยา บุตร พ่อแม่) ลูกจ้าง ซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของหรือผู้เก็บรักษา ควบคุม ทรัพย์สินนั้นๆ
2. เครื่องชั่งน้ำหนักรถยนต์ สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนามหรือสิ่งใดที่อยู่ใต้สิ่งดังกล่าว อันเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือจากน้ำหนักรถยนต์ หรือน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์ ตัวอย่างเช่น การบรรทุกจนแหนบพัง การที่รถวิ่งผ่านจนทำให้ถนนทรุด ไม่ต้องรับผิดชอบ ถนน หรือตัวรถ
3. ทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ใน หรือกำลังยกขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ ยกตัวอย่างเช่น รถบรรทุกน้ำขวด เกิดเหตุ น้ำขวดไม่คุ้มครอง หรือ ขณะกำลังขนของขึ้นรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ ก็ไม่คุ้มครองของที่กำลังจะบรรทุก
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการขยายความคุ้มครองได้อีกที่เราเรียกกันว่า "ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย" ซึ่งประกอบด้วย
1. ความคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่ กรมธรรม์จะขยายความคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่ซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัยไว้ดังนี้ 1. บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกัน ภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย แต่มีเงื่อนไขว่า (ดังนั้นจะถือเอาใครก้อตามที่ขับขี่ได้รับความคุ้มครองหมด แต่ต้องมีใบขับขี่) 1.1 บุคคลนั้นต้องปฎิบัติตนเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองและอยู่ใต้ข้อกำหนดของกรมธรรม์ 1.2 บุคคลนั้นไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์อื่นหรือได้รับแต่ไม่ เพียงพอ บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมเฉพาะส่วนเกินเท่านั้น (อาทิเช่น ได้รับความคุ้มครอง จากประกันภัยอุบัติเหตุ แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลแล้วค่อยมาเรียกร้องกับประกันภัย)
2. ความคุ้มครองการรับผิดของผู้โดยสาร ใน บางครั้งผู้ที่นั่งมาในรถยนต์อาจประมาทเลินเล่ เช่น ลงจากรถโดยไม่ระวังมอเตอร์ไซค์ ดังนั้นจึงมีความคุ้มครองประเภทนี้เข้ามา โดยกรมธรรม์นี้จะให้ความคุ้มครองเมื่อผู้โดยสารนั้นจะต้องรับผิดจากรถยนต์ ที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถยนต์นั้นทั้งนี้เฉพาะ เท่าที่มีการประกันภัยไว้ โดยมีเงื่อนไขว่า บุคคลนั้นไม่ได้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์อื่นหรือได้รับแต่ไม่ เพียงพอ บริษัทจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่เกินเท่านั้น
3. การคุ้มครองนายจ้าง เนื่อง จากประมวลกฎหมาายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง ในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างทางการได้กระทำไป และมีอยู่ไม่น้อยี่ลูกจ้างขับรถยนต์ของตนเองไปตามทางการที่จ้างของนายจ้าง เช่น ก ทำงานที่บริษัท A ขับรถยนต์ของตนซึ่งมีประกันภัยไปทำธุรกิจให้กับบริษัท A ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก (ไปชนคนอื่นเค้า) ขณะกำลังเจรจาเรื่องค่าเสียหายกันอยู่ บุคคลภายนอกได้ฟ้องให้บริษั A และ ก ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนั้นในกรณีจึงต้องมีการขยายความคุ้มครอง
กรมธรรม์ นี้คุ้มครองถึงนายจ้างผู้มิใช่ผู้เอาประกันภัย เมื่อนายจ้างจะต้องรับผิดจากการใช้รถยนต์คันเอาประกันภัยโดยลูกจ้างในทางการ ที่จ้าง ทั้งเฉพาะเท่าที่มีการประกันภัยไว้ โดยมีเงื่อนไขว่า 1. นายจ้างต้องปฏิบัติตนอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกรมธรรม์นี้ 2. นายจ้างไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมจากกรมธรรม์อื่น เว้นแต่ค่าสินไหมที่ได้รับการชดใช้นั้นไม่เพียงพอ บริษัทจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่เกินมาเท่านั้น 3. การคุ้มครองนี้ไม่เพิ่มจำนวนเงินจำกัดความรับผิดของบริษัท
4. การคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่อสู้คดี ใน บางครั้งบริษัทมีความเห็นว่า การที่บุคคลภายนอกต่อสู้ว่ารถของผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาทนั้น บุคคลภายนอกต่างหากที่เป็นฝ่ายประมาทมากกว่า บริษัทแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยต่อสู้บุคคลภายนอกจึงฟ้องศาล ซึ่ง "ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีบริษัทจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังกล่าว"
บริษัท จะต่อสู้ในนามของผู้เอาประกันภัยโดยค่าใช้จ่ายของบริษัท ต่อค่าใช้จ่ายนั้นจะหมายถึง ค่าใช้จ่ายต่อสู้คดีทางแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อสู้คดีอาญา ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน
การสำรองค่าใช้จ่าย ใน บางครั้ง บริษัทอาจให้ผู้เอาประกันภัยสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน หากค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทที่มีการคุ้มครองตามกรมธรรม์ นั้น เช่น ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าใช้จ่ายสู้คดี ในกรณีเช่นนี้บริษัทต้องจ่ายคืนให้ผู้เอาประกันภัย
ที่มา : www.axaagent-worapon.com |